หลายๆท่านคงจะเคยได้ยินคำว่า ที่ดินตาบอด หรือ
ที่ดินที่ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะได้
เพราะมีที่ดินของคนอื่นกั้นอยู่ เช่นนี้เราสามารถขอเจ้าของที่ดินที่ใกล้ทางสาธารณะที่สุด
ให้เปิดทางจำเป็นได้เลยเป็นสิทธิตามกฎหมาย
แต่ถ้าที่ดินของเราติดทางสาธารณะแต่เราอยากผ่านที่ดินคนอื่น
ซึ่งเป็นการสะดวกมากกว่า เช่นนี้สามารถคุยกับเจ้าของที่ข้างเคียง
เพื่อขอจดทะเบียนภาระจำยอมได้ครับ
แต่เจ้าของที่ข้างเคียงก็สามารถที่จะเรียกค่าตอบแทนได้เช่นกันครับ
ทีนี้ เรามารู้จักกับคำว่า ภาระจำยอม กับ ทางจำเป็น กันดีกว่าว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร โดยผมได้เอาข้อมูลมาจาก เว็บไซต์ของกรมที่ดินครับ
ภาระจำยอม | ทางจำเป็น |
๑. ความหมาย ภาระจำยอม หมายถึง ทรัพยสิทธิชนิดหนึ่งที่ ตัดทอนอำนาจกรรมสิทธิ์ โดยทำให้เจ้าของ อสังหาริมทรัพย์อันหนึ่งซึ่งเรียกว่า ภารยทรัพย์ต้อง รับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนทรัพย์สินของ ตน หรือทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องงดเว้นการ ใช้สิทธิบางอย่างเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์อื่นเรียกว่า สามยทรัพย์ (มาตรา ๑๓๘๗ ป.พ.พ.) |
๑. ความหมาย ทางจําเป็น หมายถึง ที่ดินที่ถูกล้อมด้วยที่ดิน แปลงอื่นอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้หรือมี ทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่ไม่สะดวก เช่น จะต้อง ข้ามบึง ทะเล หรือที่ลาดชันอันระดับที่ดินกับทาง สาธารณะสูงกว่ากันมาก (มาตรา ๑๓๔๙ แห่งป.พ.พ.) กฎหมายจึงให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมให้มี สิทธิผ่านที่ดินแปลงอื่นซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๖๗๒/๒๕๔๖ (ประชุมใหญ่)) |
๒. องค์ประกอบ – ไม่จำเป็นต้องเป็นที่ดินที่ถูกล้อมหรือที่ดินที่อยู่ติดกัน แม้ที่ดินไม่ได้อยู่ติดกันก็สามารถใช้ทางภาระจำยอมได้ – ไม่จำเป็นต้องเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ภาระจำยอมไปสู่ที่ใดก็ได้ |
๒. องค์ประกอบ – ต้องเป็นที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่และ – ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ หรือมีแต่ไม่สะดวก – ใช้ออกสู่ทางสาธารณะอย่างเดียว |
๓. การได้มา – โดยนิติกรรมสัญญา เป็นการตกลงกันระหว่างเจ้าของภารยทรัพย์ และเจ้าของสามยทรัพย์ ซึ่งจะกำหนดระยะเวลาไว้ หรือไม่ก็ได้ ถ้าไม่กําหนดเวลาไว้ก็ถือว่าภาระจำยอมมี อยู่ตลอดไป จนกว่าภาระจำยอมนั้นจะระงับไป และ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๒๙๙ วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. หากไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ จะใช้บังคับได้เพียงระหว่าง คู่สัญญาในฐานะเป็นบุคคลสิทธิเท่านั้น – โดยอายุความ กรณีเจ้าของสามยทรัพย์ได้มีการใช้ภารยทรัพย์ ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาจะให้ได้สิทธิภาระ จำยอมในภารยทรัพย์นั้นเป็นเวลาติดต่อกันครบ ๑๐ ปีย่อมได้สิทธิภาระจำยอมเหนือภารยทรัพย์นั้นโดย อายุความ และการได้มาโดยอายุความนี้แม้ไม่จด ทะเบียนก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมมีอยู่ ในที่ดินนั้นต่อไปได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ ๘๐๐/๒๕๐๒, ๒๓๗/๒๕๐๘, ๑๖๕/๒๕๒๒) – โดยผลของกฎหมาย กรณีปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ ผู้อื่นโดยสุจริตมีสิทธิจดทะเบียนภาระจำยอมเหนือ ที่ดินที่รุกล้ำนั้น |
๓. การได้มา – โดยผลของกฎหมาย การได้สิทธิใช้ทางจําเป็น ไม่จําต้องมีนิติกรรม สัญญาระหว่างเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมกับเจ้าของที่ดินที่ ล้อมอยู่และไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๑๓๓๘) เพราะทาง จําเป็นเป็นการได้สิทธิตามกฎหมาย และผู้ที่จะขอใช้ทางจําเป็นไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิมานาน ถูกล้อมวัน ไหน เวลาใด แม้จะเพิ่งเข้ามาอยู่ในที่ดินซึ่งถูกล้อมก็ ขอใช้ทางจำเป็นได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ ๘๒๒๑/ ๒๕๔๒, ๓๗๗๔/๒๕๔๙, ๓๘๙๒/๒๕๔๙) ผู้ที่ได้สิทธิผ่านทางไม่สามารถได้มาซึ่งทาง จําเป็นโดยอายุความได้ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลานาน เท่าใด เพราะการผ่านทางหรือทำทางจําเป็นนั้น ถือ เป็นการผ่านโดยสุจริตและเคารพในสิทธิของเจ้าของ ที่ดินผู้มีสิทธิในทางเดินผ่าน แต่อย่างไรก็ดีกฎหมาย ก็ไม่ห้ามเจ้าของที่ดินที่จะตกลงกันเพื่อให้จด ทะเบียนเป็นภาระจำยอมได้ |
๔. วิธีทำทาง แล้วแต่เจ้าของที่ดินจะตกลงกันหรือโดย สภาพการใช้ประโยชน์ |
๔. วิธีทำทาง การทำทางต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความ จําเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านและต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อม อยู่ให้เสียหายน้อยที่สุด หรือต้องเป็นทางที่ใกล้ที่สุด |
๕. ค่าทดแทน ภาระจำยอมโดยนิติกรรม กฎหมายไม่ได้ กำหนดว่าจะต้องเสียค่าทดแทน แล้วแต่เจ้าของที่ดิน จะตกลงกันว่าจะมีการเสียค่าทดแทนหรือไม่ |
๕. ค่าทดแทน ทางจำเป็นต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของ ที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อออกสู่ทางสาธารณะ ยกเว้น กรณีที่ดินที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกัน เป็นเหตุให้ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดิน แปลงซึ่งถูกล้อม มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินเฉพาะบน ที่ดินแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกัน โดยไม่ต้องเสีย ค่าตอบแทนตามมาตรา ๑๓๕๐ (คําพิพากษาฎีกาที่ ๙๒๔๘/๒๕๔๔, ๓๔๘๔-๓๔๘๕/๒๕๔๘) |
๖. ภาระจำยอมรวมถึงอสังหาริมทรัพย์อื่นด้วย ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่ตกติดแก่ตัวทรัพย์ ดังนั้น ผู้ที่จะใช้ภาระจำยอมนอกจากเจ้าของที่ดินแล้ว ยังได้ครอบคลุมถึงเจ้าของอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ที่ตั้งอยู่บนที่ดินนั้น เช่น บ้าน อาคาร ด้วย และแม้ที่ดินจะ เปลี่ยนเจ้าของไปก็ตาม ภาระจำยอมก็ยังคงมีอยู่ |
๖. ทางจําเป็นเกี่ยวกับที่ดินโดยเฉพาะ ผู้ที่ขอใช้ทางจำเป็นต้องเป็นเจ้าของที่ดิน ไม่ใช่เจ้าของโรงเรือน เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อม เท่านั้นที่จะมีสิทธิขอให้เปิดทางจําเป็น หากเป็นเจ้าของโรงเรือนเท่านั้นไม่ใช่เจ้าของที่ดิน แม้จะถูกที่ดินอื่น ล้อมก็ไม่มีสิทธิขอให้เปิดทางจําเป็น ทางจําเป็นมิใช่ สิทธิที่ติดกับที่ดินที่จะโอนไปพร้อมกับที่ดินด้วย การที่ ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่รับโอนมามีสิทธิใช้ทางพิพาทใน ที่ดินในฐานะทางจำเป็นมาก่อน ก็ไม่ได้หมายความว่า เจ้าของที่ดินที่รับโอนมาจะได้สิทธิในทางพิพาทนั้น ด้วยอย่างภาระจำยอม (คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๑๗/ ๒๕๐๙, ๒๑๙๖/๒๕๑๔) (เจ้าของที่ดินรวมถึงคนในครอบครัวและ บริวารด้วย) |
๗. การสิ้นไปแห่งภาระจำยอม – เมื่อมีนิติกรรมกําหนดให้ภาระจํายอมหมด สิ้นไประหว่างเจ้าของภารยทรัพย์และเจ้าของสามยทรัพย์ – เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไป (คําพิพากษาฎีกา ๖๔๐/๒๕๑๐) – เมื่อไม่ได้ใช้ประโยชน์แห่งภาระจํายอมเป็น เวลา ๑๐ ปี (คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๑๔/๒๕๓๙, ๖๗๓/๒๕๔๖) – เมื่อภารยทรัพย์และสามยทรัพย์ตกเป็น เจ้าของคนเดียวกัน – เมื่อภาระจำยอมไม่มีความจําเป็นหรือหมด ประโยชน์ต่อสามยทรัพย์ |
๗. การสิ้นไปแห่งทางจําเป็น เมื่อความจําเป็นหมดสิ้นไป คือ เมื่อที่ดินมี ทางออกสู่ทางสาธารณะแล้ว |
๘. การจดทะเบียน ภาระจำยอมต้องทำเป็นหนังสือและจด ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา ๑๒๙๙ แห่ง ป.พ.พ. หากไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน การได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะใช้บังคับได้เพียง ระหว่างคู่สัญญาในฐานะเป็นบุคคลสิทธิเท่านั้น ยกเว้น กรณีภาระจำยอมสิ้นไปโดยพ้น กําหนดเวลาที่ตกลงไว้ถือว่าเป็นอันยกเลิกไปโดยไม่ ต้องจดทะเบียนเลิกภาระจำยอม |
๘. การจดทะเบียน ทางจําเป็น เป็นการได้สิทธิโดยอำนาจของ กฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๔๙ โดยไม่ต้องจดทะเบียน (คําพิพากษา ฎีกาที่ ๓๗๗๔/๒๕๔๙) ยกเว้น กรณีศาลได้เคยมีคําพิพากษาให้จด ทะเบียนทางจําเป็น ซึ่งกรมที่ดินได้พิจารณาตอบข้อ หารือว่า ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนใน ประเภท “สิทธิทางจําเป็น ตามคําพิพากษา………….. ลงวันที่……เดือน…………พ.ศ……” โดยอนุโลมปฏิบัติ ตามแนวทางการจดทะเบียนประเภทภาระจํายอม |
๙. ค่าธรรมเนียม ภาษีอากร ๙.๑ ค่าธรรมเนียม – กรณีไม่มีค่าตอบแทน (ไม่มีทุนทรัพย์) แปลงละ ๕๐ บาท – กรณีมีค่าตอบแทน (มีทุนทรัพย์) ร้อยละ ๑ จากจำนวนเงินค่าตอบแทน ๙.๒ ภาษี – ไม่เสีย ๙.๓ อากร – อากรแสตมป์ร้อยละ ๐.๕ จากจำนวน เงินค่าตอบแทนที่จ่ายให้แก่กัน (กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และประมวลรัษฎากร ตามลักษณะตราสาร ๒๘. (ข) ใบรับแห่งบัญชีอัตรา อากรแสตมป์) |
๙. ค่าธรรมเนียม ภาษีอากร ๙.๑ ค่าธรรมเนียม – กรณีไม่มีค่าตอบแทน (ไม่มีทุนทรัพย์) แปลงละ ๕๐ บาท – กรณีมีค่าตอบแทน (มีทุนทรัพย์) ร้อยละ ๑ จากจำนวนเงินค่าตอบแทน ๙.๒ ภาษี – ไม่เสีย ๙.๓ อากร – อากรแสตมป์ร้อยละ ๐.๕ จากจำนวน เงินค่าตอบแทนที่จ่ายให้แก่กัน (กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และประมวลรัษฎากร ตาม ลักษณะตราสาร ๒๘. (ข) ใบรับแห่งบัญชีอัตราอากร แสตมป์) |
ที่มา : กลุ่มพัฒนาระบบการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
สํานักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน กรมที่ดิน
ธันวาคม ๒๕๕๓
คำถาม : หากขอเจ้าของที่ข้างเคียงให้เปิดทางจำเป็น แล้วเขาไม่ยอม ต้องทำอย่างไร?
ตอบ : เราสามารถไปฟ้องต่อศาลให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงเปิดทางจำเป็นได้ แล้วนำคำพิพากษาไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินครับ
#ทนายบี www.TanaiBee.com
ภาระจำยอม | ทางจำเป็น |
๑. ความหมาย ภาระจำยอม หมายถึง ทรัพยสิทธิชนิดหนึ่งที่ ตัดทอนอำนาจกรรมสิทธิ์ โดยทำให้เจ้าของ อสังหาริมทรัพย์อันหนึ่งซึ่งเรียกว่า ภารยทรัพย์ต้อง รับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบกระเทือนทรัพย์สินของ ตน หรือทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องงดเว้นการ ใช้สิทธิบางอย่างเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์ของอสังหาริมทรัพย์อื่นเรียกว่า สามยทรัพย์ (มาตรา ๑๓๘๗ ป.พ.พ.) | ๑. ความหมาย ทางจําเป็น หมายถึง ที่ดินที่ถูกล้อมด้วยที่ดิน แปลงอื่นอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้หรือมี ทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่ไม่สะดวก เช่น จะต้อง ข้ามบึง ทะเล หรือที่ลาดชันอันระดับที่ดินกับทาง สาธารณะสูงกว่ากันมาก (มาตรา ๑๓๔๙ แห่งป.พ.พ.) กฎหมายจึงให้สิทธิแก่เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อมให้มี สิทธิผ่านที่ดินแปลงอื่นซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๖๗๒/๒๕๔๖ (ประชุมใหญ่)) |
๒. องค์ประกอบ – ไม่จำเป็นต้องเป็นที่ดินที่ถูกล้อมหรือที่ดินที่อยู่ติดกัน แม้ที่ดินไม่ได้อยู่ติดกันก็สามารถใช้ทางภาระจำยอมได้ – ไม่จำเป็นต้องเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะ ภาระจำยอมไปสู่ที่ใดก็ได้ | ๒. องค์ประกอบ – ต้องเป็นที่ดินที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่และ – ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ หรือมีแต่ไม่สะดวก – ใช้ออกสู่ทางสาธารณะอย่างเดียว |
๓. การได้มา – โดยนิติกรรมสัญญา เป็นการตกลงกันระหว่างเจ้าของภารยทรัพย์ และเจ้าของสามยทรัพย์ ซึ่งจะกำหนดระยะเวลาไว้ หรือไม่ก็ได้ ถ้าไม่กําหนดเวลาไว้ก็ถือว่าภาระจำยอมมี อยู่ตลอดไป จนกว่าภาระจำยอมนั้นจะระงับไป และ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๒๙๙ วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. หากไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ จะใช้บังคับได้เพียงระหว่าง คู่สัญญาในฐานะเป็นบุคคลสิทธิเท่านั้น – โดยอายุความ กรณีเจ้าของสามยทรัพย์ได้มีการใช้ภารยทรัพย์ ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาจะให้ได้สิทธิภาระ จำยอมในภารยทรัพย์นั้นเป็นเวลาติดต่อกันครบ ๑๐ ปีย่อมได้สิทธิภาระจำยอมเหนือภารยทรัพย์นั้นโดย อายุความ และการได้มาโดยอายุความนี้แม้ไม่จด ทะเบียนก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมมีอยู่ ในที่ดินนั้นต่อไปได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ ๘๐๐/๒๕๐๒, ๒๓๗/๒๕๐๘, ๑๖๕/๒๕๒๒) – โดยผลของกฎหมาย กรณีปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของ ผู้อื่นโดยสุจริตมีสิทธิจดทะเบียนภาระจำยอมเหนือ ที่ดินที่รุกล้ำนั้น | ๓. การได้มา – โดยผลของกฎหมาย การได้สิทธิใช้ทางจําเป็น ไม่จําต้องมีนิติกรรม สัญญาระหว่างเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมกับเจ้าของที่ดินที่ ล้อมอยู่และไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา ๑๓๓๘) เพราะทาง จําเป็นเป็นการได้สิทธิตามกฎหมาย และผู้ที่จะขอใช้ทางจําเป็นไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิมานาน ถูกล้อมวัน ไหน เวลาใด แม้จะเพิ่งเข้ามาอยู่ในที่ดินซึ่งถูกล้อมก็ ขอใช้ทางจำเป็นได้ (คําพิพากษาฎีกาที่ ๘๒๒๑/ ๒๕๔๒, ๓๗๗๔/๒๕๔๙, ๓๘๙๒/๒๕๔๙) ผู้ที่ได้สิทธิผ่านทางไม่สามารถได้มาซึ่งทาง จําเป็นโดยอายุความได้ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลานาน เท่าใด เพราะการผ่านทางหรือทำทางจําเป็นนั้น ถือ เป็นการผ่านโดยสุจริตและเคารพในสิทธิของเจ้าของ ที่ดินผู้มีสิทธิในทางเดินผ่าน แต่อย่างไรก็ดีกฎหมาย ก็ไม่ห้ามเจ้าของที่ดินที่จะตกลงกันเพื่อให้จด ทะเบียนเป็นภาระจำยอมได้ |
๔. วิธีทำทาง แล้วแต่เจ้าของที่ดินจะตกลงกันหรือโดย สภาพการใช้ประโยชน์ | ๔. วิธีทำทาง การทำทางต้องเลือกให้พอสมควรแก่ความ จําเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านและต้องคำนึงถึงที่ดินที่ล้อม อยู่ให้เสียหายน้อยที่สุด หรือต้องเป็นทางที่ใกล้ที่สุด |
๕. ค่าทดแทน ภาระจำยอมโดยนิติกรรม กฎหมายไม่ได้ กำหนดว่าจะต้องเสียค่าทดแทน แล้วแต่เจ้าของที่ดิน จะตกลงกันว่าจะมีการเสียค่าทดแทนหรือไม่ | ๕. ค่าทดแทน ทางจำเป็นต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของ ที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อออกสู่ทางสาธารณะ ยกเว้น กรณีที่ดินที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกัน เป็นเหตุให้ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ เจ้าของที่ดิน แปลงซึ่งถูกล้อม มีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินเฉพาะบน ที่ดินแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนกัน โดยไม่ต้องเสีย ค่าตอบแทนตามมาตรา ๑๓๕๐ (คําพิพากษาฎีกาที่ ๙๒๔๘/๒๕๔๔, ๓๔๘๔-๓๔๘๕/๒๕๔๘) |
๖. ภาระจำยอมรวมถึงอสังหาริมทรัพย์อื่นด้วย ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่ตกติดแก่ตัวทรัพย์ ดังนั้น ผู้ที่จะใช้ภาระจำยอมนอกจากเจ้าของที่ดินแล้ว ยังได้ครอบคลุมถึงเจ้าของอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ที่ตั้งอยู่บนที่ดินนั้น เช่น บ้าน อาคาร ด้วย และแม้ที่ดินจะ เปลี่ยนเจ้าของไปก็ตาม ภาระจำยอมก็ยังคงมีอยู่ | ๖. ทางจําเป็นเกี่ยวกับที่ดินโดยเฉพาะ ผู้ที่ขอใช้ทางจำเป็นต้องเป็นเจ้าของที่ดิน ไม่ใช่เจ้าของโรงเรือน เจ้าของที่ดินแปลงที่ถูกล้อม เท่านั้นที่จะมีสิทธิขอให้เปิดทางจําเป็น หากเป็นเจ้าของโรงเรือนเท่านั้นไม่ใช่เจ้าของที่ดิน แม้จะถูกที่ดินอื่น ล้อมก็ไม่มีสิทธิขอให้เปิดทางจําเป็น ทางจําเป็นมิใช่ สิทธิที่ติดกับที่ดินที่จะโอนไปพร้อมกับที่ดินด้วย การที่ ผู้เป็นเจ้าของที่ดินที่รับโอนมามีสิทธิใช้ทางพิพาทใน ที่ดินในฐานะทางจำเป็นมาก่อน ก็ไม่ได้หมายความว่า เจ้าของที่ดินที่รับโอนมาจะได้สิทธิในทางพิพาทนั้น ด้วยอย่างภาระจำยอม (คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๑๗/ ๒๕๐๙, ๒๑๙๖/๒๕๑๔) (เจ้าของที่ดินรวมถึงคนในครอบครัวและ บริวารด้วย) |
๗. การสิ้นไปแห่งภาระจำยอม – เมื่อมีนิติกรรมกําหนดให้ภาระจํายอมหมด สิ้นไประหว่างเจ้าของภารยทรัพย์และเจ้าของสามยทรัพย์ – เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไป (คําพิพากษาฎีกา ๖๔๐/๒๕๑๐) – เมื่อไม่ได้ใช้ประโยชน์แห่งภาระจํายอมเป็น เวลา ๑๐ ปี (คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๑๔/๒๕๓๙, ๖๗๓/๒๕๔๖) – เมื่อภารยทรัพย์และสามยทรัพย์ตกเป็น เจ้าของคนเดียวกัน – เมื่อภาระจำยอมไม่มีความจําเป็นหรือหมด ประโยชน์ต่อสามยทรัพ | ๗. การสิ้นไปแห่งทางจําเป็น เมื่อความจําเป็นหมดสิ้นไป คือ เมื่อที่ดินมี ทางออกสู่ทางสาธารณะแล้ว |
๘. การจดทะเบียน ภาระจำยอมต้องทำเป็นหนังสือและจด ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา ๑๒๙๙ แห่ง ป.พ.พ. หากไม่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน การได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะใช้บังคับได้เพียง ระหว่างคู่สัญญาในฐานะเป็นบุคคลสิทธิเท่านั้น ยกเว้น กรณีภาระจำยอมสิ้นไปโดยพ้น กําหนดเวลาที่ตกลงไว้ถือว่าเป็นอันยกเลิกไปโดยไม่ ต้องจดทะเบียนเลิกภาระจำยอม | ๘. การจดทะเบียน ทางจําเป็น เป็นการได้สิทธิโดยอำนาจของ กฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๔๙ โดยไม่ต้องจดทะเบียน (คําพิพากษา ฎีกาที่ ๓๗๗๔/๒๕๔๙) ยกเว้น กรณีศาลได้เคยมีคําพิพากษาให้จด ทะเบียนทางจําเป็น ซึ่งกรมที่ดินได้พิจารณาตอบข้อ หารือว่า ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนใน ประเภท “สิทธิทางจําเป็น ตามคําพิพากษา………….. ลงวันที่……เดือน…………พ.ศ……” โดยอนุโลมปฏิบัติ ตามแนวทางการจดทะเบียนประเภทภาระจํายอม |
๙. ค่าธรรมเนียม ภาษีอากร ๙.๑ ค่าธรรมเนียม – กรณีไม่มีค่าตอบแทน (ไม่มีทุนทรัพย์) แปลงละ ๕๐ บาท – กรณีมีค่าตอบแทน (มีทุนทรัพย์) ร้อยละ ๑ จากจำนวนเงินค่าตอบแทน ๙.๒ ภาษี – ไม่เสีย ๙.๓ อากร – อากรแสตมป์ร้อยละ ๐.๕ จากจำนวน เงินค่าตอบแทนที่จ่ายให้แก่กัน (กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และประมวลรัษฎากร ตามลักษณะตราสาร ๒๘. (ข) ใบรับแห่งบัญชีอัตรา อากรแสตมป์) | ๙. ค่าธรรมเนียม ภาษีอากร ๙.๑ ค่าธรรมเนียม – กรณีไม่มีค่าตอบแทน (ไม่มีทุนทรัพย์) แปลงละ ๕๐ บาท – กรณีมีค่าตอบแทน (มีทุนทรัพย์) ร้อยละ ๑ จากจำนวนเงินค่าตอบแทน ๙.๒ ภาษี – ไม่เสีย ๙.๓ อากร – อากรแสตมป์ร้อยละ ๐.๕ จากจำนวน เงินค่าตอบแทนที่จ่ายให้แก่กัน (กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล กฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และประมวลรัษฎากร ตาม ลักษณะตราสาร ๒๘. (ข) ใบรับแห่งบัญชีอัตราอากร แสตมป์) |